วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เฮ้อ...เซ้ง...เซ็ง.
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ยอมแพ้ก่อนคือผู้ชนะ(ที่แท้จริง)
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ศักยะที่เป็นไปได้ (Possibilities)
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๒
“เราจำเป็นต้องเป็นตัวเราตลอดเวลาไหม?”
พี่สาวพยาบาลทหารคนหนึ่งถามขึ้นในวงสุนทรียสนทนา เพราะช่วงที่ผ่านมา เธอกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง และต้องจัดกระบวนการกลุ่มโดยผลัดกับเพื่อนเป็นผู้นำกลุ่มและดำเนินการประชุมให้สำเร็จลุล่วง แน่นอนว่าทุกอย่างอยู่ในสายตาของผู้ประเมินซึ่งเธอเรียกว่า Commentator ตลอดเวลา
เธอถามคำถามนี้กับตัวเองในค่ำคืนหลังจากตัวเองเป็นผู้นำประชุม และถูก Commentator กระหน่ำความเห็นประหนึ่งหวดไม้ลงมาที่เธอซ้ำแล้วซ้ำเล่า “กะว่าจะเอาให้ลงไปกองตรงนั้นให้ได้เลยกระมัง” เธอกล่าว เพื่อนๆ ถึงกับเข้ามาจับมือ ตบไหล่ และให้กำลังใจเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ทั้งๆ ที่เธอเพียงแสดงเป็นตัวของเธอเองน่ะหรือ ผู้ประเมินถึงกระหน่ำคำพูดที่ทำร้ายกับเธอเช่นนี้?
ถ้าเช่นนั้นเธอควรจะทำเช่นไรดี?
วันถัดมา เธอจึงแสร้งทำเป็นซึมแต่เช้า ทั้งที่ปรกติเป็นคนที่มีความมั่นใจในตนเองมาก พูดจาฉะฉานและมีแววตาที่มุ่งมั่น และเพื่อให้สมบทบาทนี้ เธอถึงกับกรอกยาแก้ปวดหัวต่อหน้าเพื่อนฝูง ไม่ให้เพื่อนๆ ประหลาดใจว่าเธอแปลกไป เพราะวันนี้เธอจะเป็นคนปวดหัว ซึม เซื่อง และนำประชุมไม่ได้เรื่องไงล่ะ!
ผลที่เกิดขึ้นนับว่าเกินความคาดหมาย เพื่อนๆ และวงประชุมเซื่องซึมไปตามๆ กัน ยังไม่นับ Commentator ผู้เดิมที่ไม่อาจหวดไม้ตะบองที่เตรียมมาได้เลย
นี่อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่เธอต้องเผชิญให้ก้าวผ่านมาได้อย่างดีที่สุดแล้ว แต่กระนั้น ฉันกลับฟันธงไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้อยู่ในใจเงียบๆ
---------------------------------------
ตอนบ่ายหลังจากวงสนทนาจบลง ฉันเดินไปทานข้าวกับพี่สาวอีกสองคน เรายังคงพูดคุยถึงเรื่องราวของแต่ละคนกันต่อ พี่คนหนึ่งพูดในตอนท้ายเป็นเชิงสรุปความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการทำงานในบริษัทที่ต้องกระตุ้นและฟูมฟักการเติบโตให้แก่พนักงานในความดูแลว่า “ต้องยอมรับว่าในความเป็นจริง คนที่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และเติบโตด้วยตัวเองเหล่านี้มีเป็นส่วนน้อย เราจึงยังต้องกระตุ้น ชักจูง ให้รางวัลคนส่วนใหญ่ให้กระตือรือร้นขึ้นมา”
ความไม่พอใจระคนกับความรู้สึกไม่เห็นด้วยก็เกิดขึ้นในใจของฉันอีกครั้ง
จากนั้น ภาพสมัยชั้นเรียนวิชา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวิชา สิ่งแวดล้อมศึกษา : ทฤษฎีและปฏิบัติ ในมหาวิทยาลัยของฉันก็ผุดตามขึ้นมาทันที (คุณพระช่วย! ใจเรามันเร็วจริงๆ)
“เป็นตัวของตัวเอง ตัวเองถูกเสมอ ทุกคนต้องหมุนรอบตัวฉัน” ฉันไม่ได้หมายความเช่นนั้น แต่ภาพตัวฉันและเพื่อนในสองชั้นเรียนนี้ ทำให้ฉันฉุกคิดถึงความเป็นตัวของตัวเอง ในอีกแง่มุมที่เรียกว่า “ศักยภาพดั้งเดิม”หรือ “ศักยภาพเดิมแท้” ที่มนุษย์แต่ละคนมีอยู่แล้ว และมีมาตั้งแต่ถือกำเนิด
หากเปรียบเทียบเพื่อนนักศึกษากว่า 10 ชีวิตช่วงก่อนและหลังจากเรียนทั้งสองวิชามาตลอดเวลา 1 ปี เราพบว่าการเติบโตของ “ตัวตน” แต่ละคนช่างสวยงามเหลือเกิน
“เหมือนแต่ละคนเป็นต้นไม้ ที่วันนี้ออกดอกออกมาอย่างสวยงาม” คือคำพูดเปรียบเปรยสิ่งที่เกิดขึ้นในวันสุดท้ายของการเล่าเรียนในวิชาเหล่านั้น
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของวิชาการจัดการทรัพยากรฯ ที่หนุนเสริมให้แต่ละคนเลือกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่มีการทำโทษหรือตำหนิอย่างฉับพลันทันที เช่น หากเข้าเรียนไม่ทันเวลา ไม่ส่งงานตามกำหนด หรือไม่ได้ศึกษาเอกสารมาล่วงหน้า อาจารย์ก็เพียงแต่ยิ้ม (จริงๆ!) ไม่ดุด่า แต่ก็ไม่ปล่อยปละละเลย และในวันที่มีกรณีเหล่านี้ พวกเราก็จะได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองในสิ่งที่ไม่มีใครเคยสอน จากเรื่องราวเกิดขึ้นในชีวิตจริง
ส่วนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาฯ ทุกคนจะต้องเขียนข้อเสนอโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาส่งในวันสุดท้ายของชั้นเรียนคนละชิ้น แต่ระหว่างนั้นฉันกลับได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองมากมายเหลือเกิน ตั้งแต่การเลือกหัวข้อโครงการ ซึ่งมันอาจใช้เวลาไปมากมายก็จริง แต่กลับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในความคิดของฉัน พวกเราได้ค่อยๆ สำรวจว่าในโลกใบนี้ อะไรคือสิ่งที่เราสนใจ? อะไรคือสิ่งที่เราให้คุณค่า? เราจะเลือกหัวข้อที่ยากลำบากแต่ท้าทายความสามารถและจริงแท้กับความรู้สึกของตัว หรือจะเลือกหัวข้อพื้นๆ ทำให้เสร็จได้ง่ายๆ เพียงแค่พอแถกับคนอื่นได้ว่าตัวเองก็มีความสนใจนะ เพียงแค่ขั้นตอนนี้ก็อาจเรียกได้ว่าเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองมากกว่าเวลา 3 ปีที่ผ่านมาในมหาวิทยาลัยแล้วด้วยซ้ำ
ระหว่างการพัฒนาโครงการ ฉันเริ่มเห็นความกลัว ขี้กังวลและลังเลขนาดบิ๊กเบิ้มอาศัยอยู่ในใจของตัวเอง แม้จะทำการบ้านค้นคว้าแหล่งข้อมูลมามากมาย ศึกษากรณีที่คล้ายคลึงกับหัวข้อที่ฉันเลือกไว้มาเยอะแยะ แต่ฉันกลับไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เลย มีแต่ความลังเลไม่แน่ใจ ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรอื่น นอกเสียจากความกลัวว่าผลลัพธ์จะไม่สำเร็จ (แต่ปากก็แก้ตัวว่า ไม่รู้ขั้นตอนที่ชัดเจน)
ในเวลานั้น เพียงแค่คำพูดสั้นๆ ง่ายๆ ของอาจารย์ที่พูดขึ้นมาหลังจากที่ฉันเล่าให้ทุกคนฟังว่าฉันไปทำความรู้จักโครงการไหนมาและชอบแต่ละโครงการอย่างไร อาจารย์เพียงแต่พูดว่า “สำหรับที่นี่ ผมแนะนำว่าน่าไปดู” เท่านั้นเองฉันก็ใจชื้นขึ้น ความกังวลถูกวางพักเอาไว้ก่อน ฉันรีบขอจดหมายอนุญาต วางแผนการเดินทาง และไปเยี่ยมชมโรงเรียนตัวอย่างด้านจัดการของเสียเหลือศูนย์ภายในไม่กี่สัปดาห์
แน่นอนว่า ฉันเขียนข้อเสนอโครงการสำเร็จลงด้วยดี พร้อมกับความรู้สึกที่ไม่ได้โกหกตัวเองว่าฉันเข้าใจเรื่องที่ฉันสนใจนี้มากขึ้นจริงๆ และสิ่งที่ฉันประทับใจไม่มีวันลืมคือคำพูดว่า “น่าไปดู” ที่ไม่บีบคั้น ไม่ชักจูง เป็นเพียงความเห็นเปิดกว้างจากอาจารย์ ฉันได้ตัดสินใจเลือกเองว่าจะไปหรือไม่ และฉันก็ได้ไป … ด้วยตัวเอง
---------------------------------------
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ สิ่งที่ฉันอยากบอกก็คือ ครูไม่อาจอยู่กับเราได้ตลอดไป เช่นเดียวกัน พ่อแม่กับลูก เจ้านายกับลูกน้อง หรือระหว่างเพื่อนด้วยกัน การช่วยเหลือด้วยการกระตุ้น หลอกล่อ ชักจูง ในภาวะเริ่มต้นคงจำเป็นต้องกระทำกันบ้าง แต่นั่นไม่ใช่วิธีเดียวและวิธีสุดท้ายแน่นอน ฉันคิดว่าเป้าหมายสูงสุดของการศึกษา คือ การให้คนแต่ละคนสามารถเหนี่ยวนำตนเองให้กระทำสิ่งใด หรือไม่กระทำสิ่งใด ได้ด้วยตนเองต่างหาก เพราะเมื่อนั้นแล้ว ไม่ว่าใครจะล่อหลอกเขาด้วยสิ่งใด ดูน่าเชื่อถือหรือถูกต้องแค่ไหน เขาก็จะเลือก ด้วยความคิดความเชื่อที่ใคร่ครวญแล้วของตนเอง เขาจะเป็นผู้รับผิดชอบชีวิตของเขาเอง และเขาจะกระทำสิ่งต่างๆ อย่างเต็มความสามารถที่ตนมี มิใช่เพียงทำให้ได้เท่าที่ผู้อื่นเรียกร้องเขาให้กระทำ
จึงน่าตั้งคำถามยิ่งนักว่า เพราะสาเหตุใดลูกจ้างในบริษัทชั้นนำที่มีค่าตอบแทนสูงๆ หรือนักเรียนในโรงเรียนที่มีเนื้อหาการสอนเข้มข้น ถึงได้เซื่องซึมและไร้เรี่ยวแรงในการเติบโตและเรียนรู้ได้? ผิดวิสัยสิ่งมีชีวิตยิ่งนัก และบทบาทของพ่อ แม่ เพื่อน พี่ น้อง โค้ช เพื่อช่วยให้คนเราเป็นตัวของตัวเอง สามารถโลดแล่นไปในโลกแห่งการกระทำอย่างมีชีวิตชีวาอีกครั้งได้นั้น จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร?
อาจารย์เคยกล่าวกับนักศึกษาในชั้นเรียนว่า “อย่าฆ่าคำถามดีๆ ด้วยคำตอบห่วยๆ” เพราะฉะนั้นฉันจะไม่รีบร้อนด่วนสรุป และหยิบยื่นคำตอบให้ในที่นี้ แต่จะขอยกหน้าที่ให้เราต่างไปพินิจใคร่ครวญคำถามเหล่านี้ต่อด้วยตัวเราเอง หากคุณคิดว่าคำถามเหล่านี้ดีพอนะ
ราตรีสวัสดิ์
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552
โต้คลื่นอารมณ์
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ศักยะที่เป็นไปได้
เราจำเป็นต้องเป็นตัวเราตลอดเวลาไหม?
นี่คือคำถามที่พี่สาวพยาบาลทหารคนหนึ่งถามขึ้นระหว่างที่เธอกำลัง check-in เข้าสู่วงสนทนา Dialogue Oasis1 เมื่อวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เรื่องมันมีอยู่ว่า ช่วงที่ผ่านมา จากที่เธอ (ขอเรียกว่า พี่ M เพื่อให้เข้าใจตรงกันก็แล้วกัน เพราะจะมีตัวละครอีกหลายคน) เคยทำงานเป็นพยาบาลในด้านกึ่งๆ HR - OD มานาน เธอกลับต้องกลายมาเป็นนักเรียนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอายุงานในสายทหารเข้าเกณฑ์ โดยทุกๆ บ่ายจะมีการจัดกระบวนการกลุ่ม และทุกๆ คนในกลุ่มนักเรียนประมาณ 10 กว่าคนจะต้องหมุนเวียนพลัดเปลี่ยนกันมาเป็นผู้นำกลุ่มและดำเนินการประชุมให้สำเร็จลุล่วง แน่นอนว่าทุกอย่างอยู่ในสายตาของผู้ประเมินซึ่งเธอเรียกว่า Commentator เลียนแบบรายการตามล่าหาดาวอย่างไรอย่างนั้น ;-P
เธอถามคำถามนี้กับตัวเองในค่ำคืนหลังจากที่เธอเป็นผู้นำประชุมเมื่อบ่ายวันนั้น และถูก Commentator กระหน่ำคอมเมนท์ประหนึ่งหวดไม้ลงมาที่เธอซ้ำแล้วซ้ำเล่า “กะว่าจะเอาให้ลงไปกองตรงนั้นให้ได้เลยกระมัง” เธอกล่าว เพื่อนในกลุ่มจำนวนหนึ่งถึงกับเข้ามาจับมือตบไหล่และให้กำลังใจเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ทั้งๆที่เธอเพียงแสดงเป็นตัวของเธอเองน่ะหรือ - ผู้ประเมินถึงกระหน่ำเธอเช่นนี้? ถ้าเช่นนั้นเธอควรจะทำเช่นไรดี?
วันถัดมา พี่ M แสร้งทำเป็นซึมแต่เช้า และเพื่อให้สมบทบาท ก็ถึงกับกรอกยาแก้ปวดหัวต่อหน้าเพื่อนฝูงเสียด้วย เมื่อเข้ากระบวนการกลุ่มในตอนบ่ายเพื่อนๆ จะได้ไม่ประหลาดใจว่าเธอแปลกไป เพราะวันนี้เธอจะเป็นคนปวดหัว ซึม เซื่อง และนำประชุมไม่ได้เรื่องไงล่ะ! ผลที่เกิดขึ้นนับว่าเกินความคาดหมาย เพื่อนๆและวงประชุมเซื่องซึมตามเธอไปตามๆกัน ยังไม่นับ Commentator ผู้เดิมที่ไม่อาจหวดไม้ตะบองที่เตรียมมาได้…
นี่อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่เธอต้องเผชิญให้ก้าวผ่านมาได้อย่างดีที่สุดแล้ว แต่กระนั้น ฉันกลับฟันธงไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้อยู่ในใจเงียบๆ
-----
ตอนบ่ายหลังจากโอเอซิสนัดนี้จบลง ฉันเดินไปทานข้าวกับพี่สาวสองคนในห้างสรรพสินค้าใกล้ๆนั้น บนโต๊ะทานอาหารเราก็ยังพูดคุยถึงเรื่องราวของแต่ละคนกันต่อ พี่สาวคนหนึ่งพูดเชิงสรุปความเห็นของตนเองเกี่ยวกับการทำงานในบริษัทที่ต้องกระตุ้นและฟูมฟักการเติบโตให้แก่พนักงานในความดูแลว่า
“ต้องยอมรับว่าในความเป็นจริง คนที่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และเติบโตด้วยตัวเองเหล่านี้มีเป็นส่วนน้อย เราจึงยังต้องกระตุ้น ชักจูง ให้รางวัลคนส่วนใหญ่ให้กระตือรือร้นขึ้นมา” และความไม่พอใจระคนกับความรู้สึกไม่เห็นด้วยก็เกิดขึ้นในใจฉันอีกครั้ง ถัดจากนั้นคือภาพสมัยชั้นเรียน NREM, EETP และ IA2B2 ก็ผุดตามขึ้นมาทันที (คุณพระช่วย ใจเรามันเร็วจริงๆ)
~โฉมหน้าฉันและเพื่อนๆ ร่วมคลาส EETP~
-----
“เป็นตัวของตัวเอง ตัวเองถูกเสมอ ทุกคนต้องหมุนรอบฉัน” ฉันไม่ได้หมายความถึงความเป็นตัวของตัวเองแบบนี้ เช่นเดียวกัน หรือหากตอบคำถามของพี่ M ด้วย Voice Dialogue หรือที่กลุ่มวงน้ำชาเรียกกันว่า สนทนากับเสียงภายใน นั้น ก็คงจะตอบได้ไม่ยาก3 แต่ภาพตัวฉันและเพื่อนๆ ขณะวิ่งเล่นอยู่ในชั้นเรียนเหล่านั้น ทำให้ฉันฉุกคิดถึง ความเป็นตัวของตัวเอง ในอีกแง่มุมหนึ่ง แง่มุมที่เรียกว่า ศักยภาพดั้งเดิม หรือศักยภาพเดิมแท้ ที่มนุษย์แต่ละคนมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด
เฉพาะแค่เพื่อนร่วมรุ่นจำนวนไม่เกิน 10 ชีวิต ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา NREM และ EETP ในขณะที่เป็น น.ศ. ปี3ด้วยกันเป็นเวลา 1 ปีนั้น หากเปรียบเทียบก่อนและหลังเรียนวิชาเหล่านี้ ก็พบว่า การเติบโตของ “ตัวตน” แต่ละคนช่างสวยงามเหลือเกิน
“เหมือนแต่ละคนเป็นต้นไม้ ที่วันนี้ออกดอกออกมาอย่างสวยงาม” คือคำกล่าวของหนึ่งในเพื่อนร่วมชั้น เปรียบเปรยสิ่งที่เกิดขึ้นในวันสุดท้าย ซึ่งเป็นการนำเสนอโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาที่แต่ละคนเลือกตั้งแต่หัวข้อ(อย่างยากเย็น)ตั้งแต่วันแรกของคลาส
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ยุยงส่งเสริมให้แต่ละคนเลือกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่มีการทำโทษหรือตำหนิอย่างฉับพลันทันที เช่น หากมาเข้าเรียนไม่ทันเวลา หรือไม่ส่ง assignment/สมุดบันทึกในวันที่กำหนดให้ส่ง หรือไม่ได้ทำการบ้าน/ศึกษาเอกสารที่จะนำมาพูดคุยกันในชั้นเรียนวันนั้น อาจารย์ก็จะเพียงแต่ยิ้ม ไม่ดุด่าแต่ก็ไม่ปล่อยปละละเลย ในวันที่มีกรณีเหล่านี้ เราจึงได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองในสิ่งที่ไม่มีใครเคยสอน(หรืออาจสอนได้)จากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
ในวิชาที่สอง, EETP หรือ สิ่งแวดล้อมศึกษา, หัวใจหลักคือเราแต่ละคนจะต้องเขียน Proposal โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาส่งในวันสุดท้ายของชั้นเรียนคนละ 1 เล่ม 1 เรื่อง ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น แต่ระหว่างนั้นฉันได้เรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับตัวฉันเอง ตั้งแต่การเลือกหัวข้อของตนเอง ซึ่งมันอาจใช้เวลาไปมากมายก็จริง (และฉันเชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนมากก็คงอึดอัด รำคาญความยืดยาด ตัดสินใจไม่ได้ของพวกฉันและคิดหาหัวข้อ เลือกให้เสร็จสรรพ ยัดใส่มือแต่ละคนพร้อมไล่ไปทำอย่างแน่นอน) แต่กลับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในความคิดของฉัน พวกเราได้ค่อยๆสำรวจว่าในโลกใบนี้ อะไรคือสิ่งที่เราสนใจ? อะไรคือสิ่งที่เราให้คุณค่า? เราจะเลือกหัวข้อที่ยากลำบากแต่ท้าทายความสามารถและจริงแท้กับความรู้สึกของตัว หรือจะเลือกหัวข้อพื้นๆเพลนๆทำให้เสร็จได้ง่ายๆ เพียงแค่พอแถๆกับคนอื่นได้ว่าตัวเองก็มีความสนใจนะ เพียงแค่ขั้นตอนนี้ก็อาจเรียกได้ว่าเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองมากกว่าเวลา 3 ปีที่ผ่านมาในมหาวิทยาลัยแล้วด้วยซ้ำ
นอกจากนี้ ในระหว่างทางพัฒนาโครงการ ฉันยังเริ่มเห็นความกลัว ขี้กังวลและลังเลขนาดบิ๊กเบิ้มอาศัยอยู่ในใจของตัวเอง แม้จะทำการบ้านค้นคว้าแหล่งข้อมูลมามากมาย ศึกษากรณีที่คล้ายคลึงกับหัวข้อที่ฉันเลือกไว้มาเยอะแยะ แต่ฉันกลับไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เลย มีแต่ความลังเลไม่แน่ใจ ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรนอกจากความกลัวว่าผลลัพธ์จะไม่สำเร็จ (แต่ปากก็แก้ตัวว่า ไม่รู้ขั้นตอนที่ชัดเจน :-P) ในเวลานั้น เพียงแค่คำพูดสั้นๆง่ายๆของอาจารย์ที่พูดหลังจากฉันเล่าให้ทุกคนฟังว่าฉันไปทำความรู้จักโครงการไหนมาและชอบแต่ละโครงการอย่างไร อาจารย์เพียงพูดว่า “สำหรับที่นี่4 ผมแนะนำว่าน่าไปดู” : ) เท่านั้นเองที่ฉันใจชื้นขึ้นมา ความกังวลถูกทิ้งเอาไว้ก่อน แล้วฉันก็รีบดำเนินการขอจดหมายอนุญาต วางแผนการเดินทาง และไปเยี่ยมชมโรงเรียนตัวอย่างในด้านของเสียเหลือศูนย์ภายในไม่กี่สัปดาห์
แน่นอนว่า ฉันเขียน Proposal โครงการส่งอาจารย์ในท้ายเทอมได้ด้วยดี พร้อมด้วยความรู้สึกที่ไม่ได้โกหกกับตัวเองว่าฉันเข้าใจเรื่องที่ฉันสนใจนี้มากขึ้นจริงๆ แต่สิ่งที่ฉันประทับใจไม่มีวันลืม ก็คือคำพูดที่ว่า “น่าไปดู” ที่ไม่บีบคั้น ไม่ชักจูง … เป็นเพียงคำพูด ความเห็นของอาจารย์ เปิดกว้าง … ฉันเป็นคนสุดท้ายที่จะเลือกเองว่าจะไปดูที่นี่หรือไม่ไป และฉันก็ได้ไป… ด้วยตัวเอง
สิ่งที่ฉันอยากจะบอกเล่าหลังจากที่เล่าเรื่องราวทั้งหมดแล้วก็คือ ครูไม่อาจอยู่กับเราได้ตลอดไป เช่นเดียวกับพ่อแม่กับลูก เจ้านายกับลูกน้อง หรือระหว่างเพื่อนด้วยกัน การช่วยเหลือด้วยการกระตุ้น หลอกล่อ ชักจูง ในภาวะเริ่มต้นคงจำเป็นต้องกระทำกันบ้าง แต่นั่นไม่ใช่มรรควิถีท้ายสุดแน่นอน ฉันคิดว่า เป้าหมายสูงสุดคือการให้คนแต่ละคนสามารถเหนี่ยวนำตนเองให้กระทำสิ่งใด ไม่กระทำสิ่งใด ได้ด้วยตนเองต่างหาก เพราะเมื่อนั้นแล้ว ไม่ว่าใครจะล่อหลอกเขาด้วยสิ่งใด ดูน่าเชื่อถือหรือถูกต้องแค่ไหน เขาก็จะเป็นผู้เลือก ด้วยความคิดความเชื่อที่ใคร่ครวญแล้วของเตน เขาจะเป็นผู้รับผิดชอบชีวิตของเขาเอง และเขาจะกระทำสิ่งต่างๆอย่างเต็มความสามารถที่ตนมี มิใช่เพียงให้ได้เท่าที่ผู้อื่นเรียกร้องเขาให้กระทำ
จึงน่าตั้งคำถามยิ่งนัก ว่าทำไมลูกจ้างในบริษัท หรือนักเรียนในโรงเรียน จึงไร้แรงบันดาลใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ดังที่พี่สาวในวงสนทนาไดอะลอค โอเอซิสทั้งสองคนเล่ามา? และบทบาทของพ่อ แม่ เพื่อน พี่ น้อง โค้ช เพื่อช่วยให้คนเราเป็นตัวของตัวเองอีกครั้งได้นั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร?
นานาจิตตัง
25 ส.ค. 52
1 Dialogue Oasis จัดทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ บ้านพักคริสเตียน ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2 NREM, EETP และ IA2B ย่อมาจาก Natural Resource and Environmental Management, Environmental Education : Theory and Practice และ Interdisciplinary Approaches to Biodiversity ตามลำดับ เป็นรายชื่อวิชาเลือกของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย… มี ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ เป็นอาจารย์ผู้สอน (ซึ่งวางตัวเป็นกระบวนกรมากกว่า…)
3 สุดยอดของการเรียนรู้ด้านนี้ ตามความเห็นของฉัน คือ เป็นอะไรก็ได้ (อาจเป็นด้านที่ตรงข้ามกับตนเองด้วยซ้ำ) ที่เหมาะสมควรต่อสถานการณ์และบริบทเหล่านั้น ซึ่งอาศัยกระบวนการตื่นรู้อย่างมหาศาล (อาจคล้ายคำของอาใหญ่ที่ว่า “ตื่นโพลง” ก็เป็นได้กระมัง)
4 อย่างที่เขียนในเนื้อความแล้ว “ที่นี่” หมายถึงโรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนนำร่อง"ของเสีย"เหลือศูนย์ รางวัลดีเด่นระดับประเทศ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ปี พ.ศ.2547 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://ra.zerowaste.googlepages.com/home
วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Poem to My Dear
Dear, Fear ...you come and go.No things lasting forever.Just like the wind -come and go,come and go ...
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เรื่องเล่า ภาวนา กลางกรุง (1)
วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552
It’s gotta be you
ฉันหลงรักหนังสือในชั้นหนังสือในร้าน
มากเกินกว่าที่จะเรียกถามพนักงานให้พาไปหาเสียซื่อๆ
การเดินหลงทางท่ามกลางหนังสือร้อยแปด
ได้ค่อยๆไล่สายตาไปตามตัวหนังสือบนสันปก
รอคอยวินาทีที่ใจจะบอก…ว่าเล่มนี้แหละ ที่เหมาะกับฉัน
วันนี้ฉันตกหลุมรักหนังสือเล่มหนึ่ง
ปกผ้าสีขาว แถบสีดำรองรับอักขระสีทอง
เธอชื่อเมล็ดพันธ์ุใหม่แห่งการภาวนา
วันนี้ฉันก็ไปงานภาวนา “มิตรแท้แห่งตน” มา…
ไม่มีความบังเอิญในจักรวาล
It’s gotta be you, It’s gotta be me, We gotta be free…hmm hmm
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
บอกคราวเล่าความ#01
ช่วงนี้นาสบายดีนะคะ...
วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เก็บตกตรุงปะเสวนา
- 3 ยาน ความสุกงอมทางจิตวิญญาณ
เรามีสิทธิจะฆ่าคนที่จะมาทำร้าย ทำลายชีวิตพ่อแม่ครูบาอาจารย์เราไหม?
พระนักบวชทุบหัวปลาอยู่ริมธารน้ำได้ด้วยหรือ? พระนักบวชมีเซ็กซ์กับผู้หญิงได้ด้วยหรือ? ไม่ผิดศีลหรือ?
อืมม์ ไปฟังบันทึกเสียงเองดีกว่า...ที่นี่เลย
090523 trungpa sewana.WMA - sulak, krisdawan, vichak
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
มนุษย์ขับเคลื่อนด้วย...
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สำหรับเยาวชน ค้นหาแรงบันดาลใจ (ค่ายที่ 1)
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552
What is Illusion to you
วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552
Burning Heart~
วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552
ช่วงนี้เหงาๆนะ...
วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
Save Tibet Within You
Pictures on the wall were taken by Tonkla,
are Old Tibetians who migrated to India
They live out of their homeland
They lived far from their spiritual leader
They suffered, were once in grieve and sorrow
from Chinese "Liberation" of Tibet
But you could see in every eyes
An eye of true human,
with love and strong faith.
...
So I came to this,
Tibet is not only an important location as a roof of the Earth,
nor one with cultural and spiritual luxuries -
that we must liberate from China.
Tibet is also a landscape within everyone's heart.
It is the most important area we must do everything to protect it - to save it.
Save kindness, compassion, clarity and peace within it.
Protect it from anger and revenge, from discrimination and misunderstanding.
So I came to this in my diary,
Save Tibet within you.
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552
จาก "50 ปี ปลดปล่อยธิเบต" สู่ "SVN"
สาวน้อย วิ่งเริงร่า อยู่ในห้องจัดงาน
บ้างมุดไปตามใต้โต๊ะต่างๆ
สนทนากับคุณป้าข้างๆ
หรือไม่ก็ถ่ายรูป
วันนั้น สาวน้อยสวมชุดสีชมพู ทั้งตัว
ทั้งแก้มและริมผีปากก็สีชมพู ดูสดใส
ฉันชวนเธอเล่น ... เล่นหู เล่นตา
เล่นกล้อง เล่นสี...วาดละเลงลงกระดาษ
เธอช่างกระหายใคร่รู้ และเรียนรู้ได้รวดเร็วน่าอัศจรรย์นัก
ในขณะที่เธอเอ่ยถาม มือของเธอก็ยื่นออกไปคว้าสิ่งต่างๆ
เธอทำความรู้จักกับสิ่งที่เธอใคร่รู้แทบจะในบัดเดี๋ยวที่อยากรู้นั้น
ในกระเป๋านี่มีอะไร? แป้งมีไว้ทำอะไร? ลิปกลอสมีไว้ทำไม?
กล้องของฉันใช้อย่างไร? เธออยากเก็บภาพป้าของเธอขณะปฏิบัติงาน
เธอมากับคุณป้า ที่มาทำหน้าที่ล่ามในกิจกรรมหนึ่งของงาน
แต่แบตเตอรี่ในกล้องของเธอหมดแล้ว เธอขอยืมกล้องฉันไป
ฉันปล่อยเธอไป กับกล้องราคาหลายหมื่น ในมือเด็กไม่กี่ขวบได้อย่างไร
คนอื่นอาจคิดว่าฉันไม่กลัวหรือ...ไม่หรอก
ฉันกลัว แต่ความกลัวไม่อาจชนะความไว้ใจ
แต่ฉันไว้ใจอะไร...ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน
มันมีชื่อว่าอะไรกัน?...ฉันบอกได้แค่ว่าฉันไว้ใจ
วันนี้ ฉันพบเธออีกครั้ง แถวๆสุขุมวิท
ช่างบังเอิญยิ่งนัก... หากแม้ความบังเอิญจะมีจริงในจักรวาลนี้
เธอสวมชุดสีฟ้า ... แต่หน้าตาและพลังภายในยังคงสดใส
ผลิบานดังดอกไม้สีชมพูน้อยๆน่ารัก
อีกหลายคนที่ฉันได้พบที่สุขุมวิทในวันนี้ รวมทั้งเมื่อวานด้วย
ผู้คนที่ฉันไม่ได้พบเจอ และสนทนาตัวต่อตัวด้วยมานาน
ทั้งต่าย...อีกหนึ่งผู้กล้าที่จะถอดถอนตัวเองออกจากระบบสู่ความไม่รู้และความไม่แน่นอน
ทั้งพี่เอ...หนึ่งในผู้ร่วมการเดินทางอันไร้จุดหมายที่ปางไฮเมื่อไม่นาน
หรือพี่ฉัตร...ที่กว่าเราจะได้ทำความรู้จักกันก็ตอนเดินออกจากงานแล้ว
ฉันก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมฉันถึงโทรหาใหม่ในวันนี้
จริงๆจะตรงกลับบ้านเลยก็ได้ ข้ออ้างก็มี คือ งานต้องทำ
แต่ทันทีที่ใหม่รับสายและเอ่ยว่า "จะมาไหม?"
ทั้งๆที่ฉันไม่ได้คิดไว้ว่าจะไปซะหน่อย... เธอเป็นคนส่งสารให้ฉันอีกแล้ว
ความรู้สึกดีๆที่ได้พบเพื่อนผู้ใหญ่บางท่าน ได้พบเจอเพื่อนใหม่ๆบางคน
ได้ออกเดินทางไปพบกับความวุ่นวายท่ามกลางเมืองใหญ่
บางคราที่เราอาจพบเพื่อนเก่าที่ไม่ได้พบกันนานท่ามกลางฝูงชน
เช่นกัน ภาพลิขิตโชคชะตาที่อาจนำพาชีวิตนี้ไป ก็อาจมองเห็นได้...แม้รางๆ
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552
What do we really want during alive?
Like many other days before, I came to wonder,
What do we really want during alive?
Air, food, water, shit, sex - in order to survive
(as an individual and species)
What else?
An understanding?
Freedom?
Relation?
But sometimes I just really want to be alone.
What do I not need?
A comparison?
A judgement?
An unfair treatment?
Still most of the time I just want to be treated as the one.
Life seems hard to understand, as well as I am.
(-_-)"
Maybe what I want now is simply a sleep, not a writing.
Hope my thoughts not fly over my head much tonight.
As well as everyone. Good Night!
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552
เพียงไว้ใจ
ให้ชีวิตเปิดเผยและคลี่คลายต่อหน้า
"Live a Life as it Emerges in Front of U"
อยู่กับลมหายใจ ฝีเท้า ความรู้สึกของเลือด ของลม ของเนื้อของตัว
พลังชีวิตสดใหม่ สดชื่น ไหลเวียนอยู่ในตัวเรา
แม้ตัวเราจะเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ
แต่ธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เป็นเราด้วย
เพียงเราผ่อนพักความคิดตรรกะหรือตัดสินลงเสียบ้าง
เราก็จะได้รับพรจากปัญญาญาณอันสุดประมาณ
ทุกวัน ทุกเวลา...นาที
...เพียงไว้ใจ...
ทุกสิ่งที่โชคชะตาหรือสิ่งที่ฟ้าประทาน
เป็นไปเพื่อการขัดเกลาตัวตนของเรา
หลอมรวมอัตตาอันคับแคบของเธอเข้ากับสายธารของพระธรรมเถิด
ชีวิตที่มุ่งหวังเพียงหน้าตาและฐานะนั้นมันลวงหลอกกันเกินไป
จริงใจกับตัวเองเสีย...ตัวตนที่สูงส่งและแท้จริง
ได้โปรด
...เชื่อฉันหน่อยเถิด.....
ไว้ใจ ไว้ใจ .....เปิดใจ
องค์พุทธะประทับอยู่ในใจมนุษย์ทุกคน
จาก ภาวนาคือชีวิต การเดินทางโดยปราศจากจุดหมาย
ปางไฮ เชียงใหม่ 21 -28 ก.พ. 52