วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553
วิธีการ/ความต้องการ : ของฉัน/ของเธอ
หนึ่งในการแยกแยะที่สำคัญ ในการสื่อสารด้วยความกรุณา คือ แยก "วิธีการ" ออกจาก "ความต้องการ" เพราะเมื่อเรายึดติดกับ "วิธีการ" ใดวิธีการหนึ่งแล้ว เราก็ประหนึ่งล็อกกุญแจขังตายตัวเองเข้ากับวิธีนั้นๆ จนมองไม่เห็นหนทางอื่นที่อาจทำให้ความต้องการของเราได้รับการตอบสนองได้ "ความต้องการ" ในที่นี้ หมายถึงความต้องการที่เป็นสากล แม้ผู้คนหลากหลายสีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ (มิพักแค่ "สีเสื้อ" ของคนไทยแน่นอน) ก็มีเหมือนๆ กัน ดังเช่นไดอะแกรมของมาสโลว์ ข้างล่างนี้
คนๆ หนึ่งมีความต้องการตั้งแต่ในระดับพื้นฐานที่สุด : ความต้องการทางกายภาพ ; อากาศ อาหาร น้ำ การพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่าย ฯลฯ ทั้งหมดในระดับนี้เป็นไปเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น ความต้องการในระดับต่อมา : ความปลอดภัย ไม่ว่าจะในทางกายภาพ ทางจิตใจ ทางเศรษฐกิจ หน้าที่การงาน สังคม ... ความสัมพันธ์ ความรู้สึกผูกพัน รักใคร่ ... กับเพื่อน แฟน พ่อแม่ พี่น้อง ใช่หรือไม่? ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเคารพ ฯลฯ
หากเราปลดความคิดตัดสินที่ดังอยู่เบื้องหลังความคิดของเราได้ เราก็จะได้ยิน "เสียงของความเป็นมนุษย์" ของคนที่อยู่คนละฝักฝ่ายกับเรา นั่นคือ เราสามารถสัมผัสความต้องการของคนผู้นั้นได้ และโอ้ว้าว พระเจ้าช่วย! ความต้องการของเค้ากับเรามันเหมือนกันเรย !!!
แต่การจะรับฟังผู้อื่นได้ เราก็ต้องได้ยินตัวเองก่อน ... เป็นทักษะที่ผู้คนในสมัยนี้ไม่ค่อยได้พัฒนานัก ก็ต้องฝึกกันต่อไป ...
โดยในการนำการสื่อสารด้วยความกรุณา (CC - Compassionate Communication หรือ Non-Violent Communication) มาใช้ในชีวิตจริงนั้น มันไม่ได้จบแค่การสัมผัสความต้องการของตนเองให้ได้เท่านั้น
หลายครั้งหลายครา ที่เราตกอยู่ในวังวนถกเถียงเยี่ยงชีวิตประจำวันกับใครบางคน เราสัมผัสกับความรู้สึก-ความต้องการ ของตัวเองไม่ยากนักหรอก แต่เอ? ทำไมก็ยังผ่าทะลุการทะเลาะถกเถียงไม่พ้นเสียทีหว่า? ... ก็ใช้ชีวิตกันต่อไป เราก็พยายามฟังอีกฝ่ายให้มากขึ้น ฟังให้ได้ยินความรู้สึก-ความต้องการของเขา ซ้ำๆๆๆ โดยที่วงจรก็ยังวนเวียนกลับมาเรื่อยๆ
เป็นเวลานานทีเดียวกว่าเราจะเอะใจได้ ว่า Missing Piece คือ เราไม่เคยประคองความต้องการทั้งฝ่ายเราและอีกฝ่ายได้เลย ในชั่วขณะที่อารมณ์มันพรั่งพรู (หรือพุ่งปรี๊ดก็ตาม) มันมีแต่ "ฉัน" "ฉัน" "ฉัน" ฉันไม่พอใจ ฉันไม่ชอบเธอเลย เธอมันแย่ 1... 2... 3... 4...
เฮ้อ... เขียนไปเขียนมา ออกทะเลมั้ยหว่า? :D
คืนนี้เอาแค่นี้ก่อนดีกว่า เด๋วจะกลายเป็นเขียนเพื่อให้ได้บทความดีๆสักอันมากเกินไป
ราตรีสวัสดิ์ ~
ปล. การแยกแยะที่สำคัญอื่นๆ ของ CC คือ
คนๆ หนึ่งมีความต้องการตั้งแต่ในระดับพื้นฐานที่สุด : ความต้องการทางกายภาพ ; อากาศ อาหาร น้ำ การพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่าย ฯลฯ ทั้งหมดในระดับนี้เป็นไปเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น ความต้องการในระดับต่อมา : ความปลอดภัย ไม่ว่าจะในทางกายภาพ ทางจิตใจ ทางเศรษฐกิจ หน้าที่การงาน สังคม ... ความสัมพันธ์ ความรู้สึกผูกพัน รักใคร่ ... กับเพื่อน แฟน พ่อแม่ พี่น้อง ใช่หรือไม่? ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเคารพ ฯลฯ
หากเราปลดความคิดตัดสินที่ดังอยู่เบื้องหลังความคิดของเราได้ เราก็จะได้ยิน "เสียงของความเป็นมนุษย์" ของคนที่อยู่คนละฝักฝ่ายกับเรา นั่นคือ เราสามารถสัมผัสความต้องการของคนผู้นั้นได้ และโอ้ว้าว พระเจ้าช่วย! ความต้องการของเค้ากับเรามันเหมือนกันเรย !!!
แต่การจะรับฟังผู้อื่นได้ เราก็ต้องได้ยินตัวเองก่อน ... เป็นทักษะที่ผู้คนในสมัยนี้ไม่ค่อยได้พัฒนานัก ก็ต้องฝึกกันต่อไป ...
โดยในการนำการสื่อสารด้วยความกรุณา (CC - Compassionate Communication หรือ Non-Violent Communication) มาใช้ในชีวิตจริงนั้น มันไม่ได้จบแค่การสัมผัสความต้องการของตนเองให้ได้เท่านั้น
หลายครั้งหลายครา ที่เราตกอยู่ในวังวนถกเถียงเยี่ยงชีวิตประจำวันกับใครบางคน เราสัมผัสกับความรู้สึก-ความต้องการ ของตัวเองไม่ยากนักหรอก แต่เอ? ทำไมก็ยังผ่าทะลุการทะเลาะถกเถียงไม่พ้นเสียทีหว่า? ... ก็ใช้ชีวิตกันต่อไป เราก็พยายามฟังอีกฝ่ายให้มากขึ้น ฟังให้ได้ยินความรู้สึก-ความต้องการของเขา ซ้ำๆๆๆ โดยที่วงจรก็ยังวนเวียนกลับมาเรื่อยๆ
เป็นเวลานานทีเดียวกว่าเราจะเอะใจได้ ว่า Missing Piece คือ เราไม่เคยประคองความต้องการทั้งฝ่ายเราและอีกฝ่ายได้เลย ในชั่วขณะที่อารมณ์มันพรั่งพรู (หรือพุ่งปรี๊ดก็ตาม) มันมีแต่ "ฉัน" "ฉัน" "ฉัน" ฉันไม่พอใจ ฉันไม่ชอบเธอเลย เธอมันแย่ 1... 2... 3... 4...
เฮ้อ... เขียนไปเขียนมา ออกทะเลมั้ยหว่า? :D
คืนนี้เอาแค่นี้ก่อนดีกว่า เด๋วจะกลายเป็นเขียนเพื่อให้ได้บทความดีๆสักอันมากเกินไป
ราตรีสวัสดิ์ ~
ปล. การแยกแยะที่สำคัญอื่นๆ ของ CC คือ
- แยกแยะ "การตัดสิน/วิเคราะห์/ตีความ" ออกจาก "การสังเกต"
- แยกแยะ "ความคิด" ออกจาก "ความรู้สึก"
ป้ายกำกับ:
NVC,
Reflection/Journal
วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553
สมมติฐานตามยุคสมัย
มนุษย์มีสมมติฐานติดตั้งอยู่ในตัวแตกต่างกันไปตามยุคสมัย - ว่าโลกแบน ว่าโลกกลม เป็นต้น มีสมมติฐานที่เราต่างยึดถือเป็นจริงเป็นจังอยูู่่ลึกๆนับร้อยนับพัน ทั้งที่มันอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม แต่ในหลายๆกรณีแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ความจริง - ซึ่งได้รับเป็นมรดกจากกระบวนทัศน์หรือโลกทัศน์ในยุคก่อนหน้า - มิได้ถูกต้องแม่นยำไปเสียทั้งหมด ดังนั้น หากเรามี ความคิดความเชื่อได้รับสืบทอดมาจากประวัติศาสตร์ในอดีต หากประวัติศาสตร์สามารถแนะนำอะไรได้บ้างละก็ - เราก็อาจกล่าวง่ายๆได้ว่า สิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นจริงเกี่ยวกับโลกในวันนี้ ไม่เป็นความจริงหรอก
- ดร. จอห์น เฮกลิน
จากบท คำถามที่ยิ่งใหญ่
What the Bleep Do We Know!?
ป้ายกำกับ:
WTB Sneak Preview
วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553
หากจินตนาการไม่หยุดยั้งแค่โลกแห่งความฝัน...
หากจินตนาการไม่หยุดยั้งแค่โลกแห่งความฝัน...
แต่ลงมาติดดิน เปื้อนเหงื่อ และเบ่งบานในโลกที่ไม่สวยงามเช่นความเป็นจริง?
หากผู้อยู่อาศัยในแฟลต ตึกแถว คอนโดมิเนียม ในเมืองใหญ่
ต่างปลูกผักสวนครัวในกระถางระเบียงหน้าห้องของตน
จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องหนึ่ง ...
จนอาณาเขตทางการครอบครองพื้นที่อยู่อาศัยจางหายไปด้วยแนวพืชผักสีเขียว
ที่ออกดอกออกใบให้ผล ให้ผู้คนได้ช่วยกันรดนำ้ ใส่ปุ๋ย แล้วยังช่วยกันเก็บกินอีกด้วย !!
คราวนี้ ผู้ที่มีบริเวณบ้านในครอบครองเพียงน้อยนิด
ก็อาจปลูกพืชผักได้พอกิน ในพื้นที่ส่วนรวมได้แล้ว :-d
- หากบ้านทุกหลังในกรุงเทพฯ ปลูกแค่ "พริก" พอกินพอใช้ภายในครอบครัวตัวเอง ...
น้ำมันที่ต้องใช้ในการขนส่งพริกจากพื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดต่างๆ
เพื่อขนพืชผักชนิดนี้มาให้คนในกรุงเทพฯได้กิน จะลดลงไปเท่าไหร่หนอ?
แล้วถ้าขยายไปยังพืชพรรณชนิดอื่นด้วยล่ะ!
กระเพรา โหระพา สะระแหน่ ตะไคร้ ใบชา ...
the list go on and on...
หากจินตนาการไม่หยุดยั้งแค่โลกแห่งความฝัน...
แต่ลงมาติดดิน เปื้อนเหงื่อ ด้วยความรักและความใส่ใจ
พืชพรรณธัญญาหารคงเบ่งบานในโลกที่ไม่สวยงามเช่นเมืองใหญ่ได้อีกครา
v แรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มนี้
ป้ายกำกับ:
Reflection/Journal
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)